สูตรดื่มสมูทตี้หลากสีแทนอาหาร 2 มื้อ นาน 2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มต้นสูตรไดเอตด้วยสมูทตี้หลากสี มาเรียนรู้กระเตรียมส่วนผสมและวิธีทำสมูทตี้เบื้องต้นกันดีกว่า
วิธีทำแค่ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ก็เนรมิตสมูทตี้แสนอร่อย 1 แก้วได้สบาย ๆ แม้ตอนเช้าจะยุ่งแค่ไหน คุณก็ไม่พลาดการไดเอตแน่นอน
- ล้างผักผลไม้ให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้น (กะขนาดให้ปั่นได้สะดวก)
- ใส่น้ำเปล่าและผักผลไม้ลงในโถปั่น แล้วปิดฝา
- เปิดเครื่อง ปั่นจนส่วนผสมละเอียดและเป็นเนื้อเดียวกัน
การเตรียมส่วนผสม
- ผักผลไม้ส่วนใหญ่ใช้ได้เกือบทุกส่วน แต่มีบางชนิดต้องหั่นหรือปอกเปลือกออกบ้าง
- ผักปวยเล้ง โคนก้านมักมีเศษดินติดอยู่ ควรตัดออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด
- แอ๊ปเปิ้ล ถ้าเป็นไปได้ไม่ต้องเฉือนแกนหรือปอกเปลือกทิ้ง เพราะมีสารอาหารดี ๆ ไม่แพ้เนื้อแอ๊ปเปิ้ล แต่ควรล้างให้สะอาด
- ส้มซันคิสต์ เยื่อสีขาวของส้มมีสารอาหารที่มีประโยชน์ เมื่อปอกเปลือกแล้วใช้วิธีตัดแบ่งครึ่งหรือผ่าสี่โดยไม่ต้องแกะทีละกลีบ
- พาร์สลีย์ ก้านพาร์สลีย์มีสารอาหารเต็มเปี่ยม จึงควรนำมาใช้พร้อมกับใบ
ผลไม้ที่ต้องปอกเปลือกและเฉือนแกนกลางออก
- กล้วยหอม (ปอกเปลือกอย่างเดียว) อะโวคาโด สับปะรด มะละกอ มะม่วง ผลไม้ตระกูลส้ม (เช่น ส้มซันคิสต์ เกรปฟรุต)
- ผลไม้ที่ไม่ต้องปอกเปลือก
- องุ่น ลูกพลับ (แกะเมล็ดออก) แอ๊ปเปิ้ล กีวี
การใส่ส่วนผสมลงในเครื่องปั่นสมูทตี้
เทคนิคการใส่ส่วนผสมลงในโถปั่นที่ช่วยให้ทำสมูทตี้ได้อย่างสมบูรณ์
- ใส่น้ำเปล่าหรือของเหลวก่อน
- ใส่ผักใบอ่อนหรือผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม
- ใส่ผักหรือผลไม้ที่ค่อนข้างแข็ง หรือแช่แข็งไว้ที่ส่วนบนสุด
การเก็บรักษา การทำสมูทตี้ในเวลาเร่งรีบควรซื้อส่วนผสมเตรียมไว้ล่วงหน้า หรืออาจเตรียมไว้จำนวนมากสักหน่อย ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกให้พร้อมทำสมูทตี้ได้ทุกเวลา ใส่ถุงซิปล็อกแล้วแช่แข็งไว้ แต่ผักใบให้แช่ในช่องแช่ผักแทน
ผลไม้ที่ไม่ควรเก็บด้วยการแช่แข็ง อะโวคาโดและผักใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนประกอบ เมื่อซื้อผักใบมาควรนำไปแช่น้ำเย็นนาน 5-10 นาที สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้น ห่อด้วยแผ่นพลาสติกใสถนอมอาหาร จากนั้นวางในช่องแช่ผักตามแนวตั้ง วิธีนี้จะช่วยรักษาผักให้สดนานขึ้น
วิธีจับคู่ส่วนผสมสำหรับทำสมูทตี้หลากสี ตามหลักของสมูทตี้หลากสีที่นำมาจากผักผลไม้สีต่าง ๆ ควรเลือกส่วนผสมให้ใช้โทนสีเดียกวัน เพื่อให้ได้สารอาหารตามต้องการ และสีสันสวยงามด้วย
ผักผลไม้ที่เหมาะนำมาทำสมูทตี้ ควรเป็นผักหรือผลไม้ที่รับประทานสดได้ เช่น ผักโคมัตสึนะ แอ๊ปเปิ้ล กล้วยหอม มะเขือเทศ สับปะรด
ผักผลไม้ที่ไม่ควรนำมาทำสมูทตี้ ผักผลไม้ย่อยยาก หรือใช้เวลานานและไม่สามารถรับประทานสดได้ เช่น ถั่วต่าง ๆ
อัตราส่วนของผลไม้และผักต่อสมูทตี้ 1 แก้ว
- มือใหม่เพิ่งเริ่มดื่ม (ผลไม้ 6 : ผัก 4)
- คนที่ไม่ชอบรับประทานผักผลไม้หรือผักสีเขียวเพราะกลิ่นเหม็นเขียว ควรเริ่มดื่มสมูทตี้ที่มี รสหวานซึ่งใส่ผลไม้มากสักหน่อย เพื่อให้คุ้นกับรสชาติ
- คนที่ต้องการไดเอต (ผลไม้ 2 : ผัก 8)
- เมื่อชินกับรสชาติและกลิ่นของผักแล้ว ควรปรับปริมาณให้ใช้ผักเป็นหลัก เพื่อช่วยล้างพิษและกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ